การแสดงและการละเล่นประจำท้องถิ่น
ฟ้อนเมืองเผียไหมลำปาง
โดยนายสักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย มีความเชื่อว่า "ความเป็นชาติอยู่ได้เพราะการมีอะไรเป็นของตนเอง"ทำให้ชมรมจุสะหรีแม่ข่วงเจิง วัดกู่คำ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2536 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปะการแสดง การสอนภาษาคำเมืองและนาฎศิลป์ การคิดประดิษฐ์ท่ารำเพื่อใช้ในการสอนให้แก่เด็กๆ จากภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปแต้ม วัดนาแส่ง ประยุกต์กับภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปแต้ม วัดเวียงต้า เป็นท่าก๋งยิง 3 เวียงต้า และภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นท่ายอพนมตั้งเกล้า และนำมาประดิษฐ์เรียบเรียงให้เป็นท่ารำฟ้อนเมืองเผียไหมลำปาง จำนวน 58 ท่ารำ ประกอบกับดนตรีเพลงเผียไหมลำปาง และมีการถ่ายทอดสืบต่อกันเป็นรุ่นๆ ปัจจุบันมีสถานศึกษา
จำนวน 14 แห่ง จัดการเรียนการสอนฟ้อนเมืองเผียไหมลำปาง
ลักษณะการแต่งกาย :
ผู้แสดงแต่งกายในชุดครองสไบ ซึ่งเป็นชุดพื้นเมืองของจังหวัดลำปาง
วิธีการแต่งกาย :
ใช้สไบเคียนอกของสตรีและนุ่งซิ่นบ้วง
การห่มสว้ายแหล้ง : วัดความยาวของสไบอย่างน้อย จากพื้นชูขึ้นให้สูงกว่าความยาวแขนของชุด
ไม่น้อยกว่า 2 เมตร และดึงสไบไขว้หลังทิ้งชายที่เหลือไว้พองาม จัดชายพาดไหล่ให้เลยชายเสื้อลงมา เมื่อเฉวียงชายขึ้นทับ ทิ้งชายลงด้านหลัง ควรยาวกว่าด้านหน้า , สไบลายก่านปล้องให้จัดชายพาดลายขวาง ปล้องทับชายสว้าย
ทรงผม :
แบบเกล้าผมและตกแต่งด้วยเครื่องประดับหรือช่อดอกไม้พอสวยงาม
ฟ้อนเจิง
เป็นศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า อวดลวดลายลีลาการต่อสู้ด้วยท่าทางที่น่าเกรงขาม มีกลองเป็นตัวให้จังหวะ ตำนานกล่าวว่า
ชาวไตทางภาคเหนือ รับเอาศิลปะการฟ้อนเจิงมาจากพวกเงี้ยวหรือพวกไทยใหญ่เป็นการแสดงก่อนที่นักรบจะออกทำการรบเพื่อปลุกปลอบขวัญและเป็นกำลังใจให้แก่นักรบ หรือเป็นการแสดงความดีใจเมื่อรบชนะ เพราะฟ้อนเจิงเป็นจังหวะที่เร้าใจ สนุกสนาน
ตื่นเต้น แต่ในปัจจุบันจะนิยมแสดงในงานบุญหรืองานนักขัตฤกษ์ต่างๆ เช่น งานปอย
งานสงกรานต์ งานลอยกระทง
ตบมะผาบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น