สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19

👉ด้านสุขภาพ​มีประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและบุคลากร​ทางการแพทย์​ต้องทำงานหนักขึ้น

👉ด้านการศึกษา​ ไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้ ต้องเรียนออนไลน์ทำให้เด็กกับผู้ปกครองต้องปรับตัว​  บางคนมีเครื่องมือสื่อสารไม่เอื้ออำนวยหรือไม่พอสำหรับใช้เรียน​และทำงานส่ง​ 

👉ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลมีการประกาศนโยบาย Social distancing ให้มีการปิดกิจการ และลดการเดินทาง ทำให้ประชาชนไม่สามารถเดินทางมาซื้ออาหาร และสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภค จึงเกิดความขาดแคลน และหายไปจากตลาด  ประชาชนบางส่วนต้องหยุดงาน บางกิจการต้องปิด ทำให้มีผลกระทบต่อการว่าจ้างและการว่างงาน



 วิธีการป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด - 19

👉 รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้อื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้ป่วยก็ตาม

👉 สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดหรือเว้นระยะห่างไม่ได้

👉 หลีกเลี่ยงพื้นที่ปิด พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด

👉 ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์

👉 รับวัคซีนเมื่อได้รับสิทธิ์ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพื้นที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน

👉 ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม

👉 เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย

👉 หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบาก โปรดไปพบแพทย์ โดยติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะได้แนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ

** หน้ากากอนามัยต้องเลือกที่กระชับกับใบหน้าช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด - 19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น


วิธีการแก้ไขของสมาชิกในชุมชนเมื่อมีคนติดเชื้อโควิด - 19

ลำปางเป็นจังหวัดที่สามารถให้คนในพื้นที่ลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชัน"หมอพร้อม"
ได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ด้วยยอดจองวัคซีนมากกว่า 220,000 คน (ข้อมูลเมื่อเดือน พ.ค. 2564 )  
ผู้ว่าราชการนัดประชุม หมอเสนอว่าให้เปิดโครงการ "รับคนลำปางกลับบ้าน" 
วิธีนี้จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานง่ายขึ้น และยังมีการสต็อกหน้ากากอนามัย ชุดPPE แอลกอฮอล์ และชุดตรวจโควิด ไม่ต่ำกว่า 2-3 สัปดาห์ มีเตียงพร้อมดูแลผู้ป่วยโควิดราว 300 เตียง 
และมีคนได้รับวัคซีนแล้วทั้งสิ้น 44,000 คน (ข้อมูล ณ 1 ก.ค. 2564 ) แต่ยังไม่ถึง 10% ของประชากรทั้งหมดโดยเป้าหมายจะต้องฉีดให้ครอบคลุม 500,000 คน
    แนวทางในการทำงานเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติเช่นนี้ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน 
ต้องพึ่งพาทักษะความรู้ของหมอ  คนที่เหนื่อยหนักคือทีมทำงานลงรายละเอียด 
การทำงานแบบนี้ ทีมมีความสำคัญเป็นอย่างมากต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน 
ทีมลำปาง สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม.
ทำงานอย่างเข้มแข็ง ติดตามผู้เดินทางเข้า - ออก และทำงานเชิงรุก 

 


วิธีลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19
   👉สร้างการรับรู้ประชาชนปฏิบัติมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเข้มข้น ได้แก่ รักษาระยะห่างระหว่างกัน ไม่พบปะหรือไปยังสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี หมั่นล้างมือด้วยน้ำ,สบู่หรือเจลแอลกอฮอล์สม่ำเสมอ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจเชื้อโรคโควิด - 19 ใช้แอปหมอชนะ/ไทยชนะ
  👉ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ( ฉบับที่ 30 ) (สำหรับจังหวัดลำปางอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคและมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน ) เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำปางหรือ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค
**กิจกรรมที่ได้รับยกเว้นโดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ได้แก่ - กิจกรรมที่เกี่ยวกับการขนส่งหรือขนย้ายประชาชน การรักษาพยาบาลและสาธารณสุข การให้บริการ การให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การรวมกลุ่มของบุคคลตามปกติในที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน การประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการออกกำลังกายในสถานที่ตามที่ทางราชการกำหนด - กิจกรรมที่ดำเนินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยงานดังกล่าว หรือกิจกรรมอื่นตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านความมั่นคงกำหนด
👉มาตรการเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างทั่วราชอาณาจักรและ มาตรการเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบกิจการหรือโรงงานให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา นำมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ(Bubble and Seal) และมาตรการการเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและสถานที่ทำงานภายใต้การกำกับควบคุม (Sealed Route) มาใช้บังคับ
     👉มอบหมายศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติตามข้อกำหนด คำสั่งและมาตรการ ที่จังหวัดลำปางได้ประกาศอย่างเคร่งครัด (ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2564)







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้